เกี่ยวกับโครงการ

อ่านแล้ว 455 ครั้ง

หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำให้การรักษาโรคมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประชาชนมีชีวิตยืนยาวขึ้น ขณะที่ผู้สูงอายุมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและอยู่ตามลำพังมากขึ้น จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฉุกเฉินสูงขึ้น ดังนั้นการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านผู้ป่วยกึ่งเฉียบพลันที่ผ่านพ้นภาวะวิกฤตและมีอาการคงที่แล้วจึงมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งแต่ละพื้นที่ย่อมมีบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป จึงต้องใช้ระบบการดูแลระยะกลางและระยะยาวที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ ประกอบกับการระบาดของโรค COVID-19 ระบบบริการสุขภาพจึงต้องปรับการทำงานในบริบทชีวิตวิถีใหม่ จากการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า การให้บริการสุขภาพทางไกล (Telehealth) และการให้คำปรึกษาทางไกล (Teleconsultation) เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการจัดบริการสุขภาพ เนื่องจากมีประสิทธิผล สะดวก ประหยัด เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ในพื้นที่ห่างไกลหรือเดินทางลำบาก และส่งเสริมการทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุได้ดียิ่งขึ้น

โครงการนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยกลุ่มโรคที่ต้องการการดูแลและฟื้นฟูระยะกลางและระยะยาวในบริบทชีวิตวิถีใหม่ (new normal intermediate care and long term care) แบบองค์รวม (holistic) ที่มีคุณภาพ (quality) คุณค่า (value-based) และความครอบคลุมที่เกิดผลสัมฤทธิ์ (effective coverage) โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลและฟื้นฟูระยะกลางและระยะยาว ที่เชื่อมโยงระบบบริการ ระบบข้อมูล และระบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรและผู้ดูแล ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ที่ครอบคลุมปัญหาหลักของพื้นที่ภาคใต้อย่างเป็นระบบและครบวงจร โดยมี 3 ยุทธศาสตร์ที่เชื่อมโยงกัน คือ 1) การพัฒนาระบบบริการ 2) การพัฒนาระบบข้อมูล และ 3) การพัฒนาระบบการเรียนรู้




ยุทธศาสตร์ของโครงการ 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบการดูแลและฟื้นฟูระยะกลางและระยะยาว

ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลและฟื้นฟูระยะกลางและระยะยาว ที่เชื่อมโยงระบบบริการ ระบบข้อมูล และระบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรและผู้ดูแล ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ที่ครอบคลุมปัญหาหลักของพื้นที่ภาคใต้อย่างเป็นระบบและครบวงจร


เครือข่าย IMC-CoC-LTC ใน จังหวัดสงขลา


diagram ของระบบ SMARTCOC Telehealth and Teleconsultation

diagram ของการพัฒนาระบบ SMART CARE

 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบบูรณาการข้อมูลการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลและฟื้นฟูระยะกลางและระยะยาว ที่เชื่อมโยงระบบบริการ ระบบข้อมูล และระบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรและผู้ดูแล ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ที่ครอบคลุมปัญหาหลักของพื้นที่ภาคใต้อย่างเป็นระบบและครบวงจร

บูรณาการระบบข้อมูลและ apps: HIS-IMC-CoC-LTC-1669

  • เชื่อม HIS (HOSxP, PMK) กับ CoC และ PRM 
  • เชื่อม Service-based data กับ community-based data

System data flow & structure

ตัวอย่าง Thepha Doctor application

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรและผู้ดูแล

ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลและฟื้นฟูระยะกลางและระยะยาว ที่เชื่อมโยงระบบบริการ ระบบข้อมูล และระบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรและผู้ดูแล ร่วมกับภาคีเครือข่ายหลายภาคส่วน ที่ครอบคลุมปัญหาหลักของพื้นที่ภาคใต้อย่างเป็นระบบและครบวงจร

Key IMC-LTC Health Services & Key ACTORs

รวบรวมชุดความรู้และสื่อต่างๆ พัฒนาหลักสูตร integrated e-learning platform และบูรณาการสู่หลักสูตรการเรียนการสอน


คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดข้อเสนอโครงการ






CopyRight © 2024 Southern Health Foundation (SHF)